อีกอย่างคือภาคเอกชนที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ เขามีเงินอยู่แหละ แต่เงินลงทุนอาจจะไปที่ต่างประเทศมากกว่า เช่น จีน เวียดนาม ซึ่งก็น่าเสียดาย แต่ก็เข้าใจได้เช่นกัน เพราะนักลงทุนที่ถือเงินน่าจะอยากลงทุนในประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศดีกว่า รวมถึงมีนโยบายภาครัฐที่สดใสกว่า
บริการที่ปรึกษาทางการเงิน การควบรวมกิจการ
พูดมาถึงตรงนี้ คุณยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของเศรษฐกิจไทยไหม
ถ้าพูดกับประชาชนทั่วไปในเรื่องเศรษฐกิจ พวกเขาควรเตรียมพร้อมรับมืออะไร
คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ธนาคารและเข้าสู่
ถ้ามุมมองเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลกับ ธปท. ไม่ตรงกัน หรือแม้แต่นโยบายการเงินกับการคลังไม่สอดคล้องกัน เราจะมีปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมไหม
ต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจคล่องขึ้นและดีขึ้น เป็นเครดิตของรัฐบาลว่าทำให้เศรษฐกิจโตได้ และจะเป็นผลดีกับการเลือกตั้งครั้งหน้า
พิจารณาและมีการซักถาม ถ้า กนง. เห็นสอดคล้องกับฝ่ายเลขานุการฯ ก็จะตัดสินใจคล้ายๆ กับที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมา แต่ทุกอย่างมาจากการวิเคราะห์ หารือ และถกเถียงกัน
เรื่องออกแบบนโยบาย ผมเสนอว่าเราต้องทำสองเรื่อง recommended reading เรื่องแรกคือการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่รวมดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งถ้าไม่คิดถึงมิติการเมืองจนเกินไป ผมคิดว่าโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ที่ผ่านมาให้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี และอาจจะใช้เม็ดเงินน้อยกว่า เพราะผู้ใช้ต้องควักกระเป๋าครึ่งหนึ่งด้วย มันมีเงินออกจากกระเป๋าแน่ๆ หรืออาจจะเป็นโครงการแบบ ‘ช้อปดีมีคืน’ หรือเอาเม็ดเงินไปลงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สิ่งที่ควรทบทวนคือรัฐบาลจะตั้งเป้าเพิ่มงบลงทุนอย่างไร จะชักจูงให้เกิดบรรยากาศการลงทุนอย่างไร เพราะการมีนโยบายเอื้อให้เกิดการลงทุนในเรื่องใหม่ๆ อาจจะได้ประโยชน์มากกว่ากันเยอะ ผมว่าตรงนี้รัฐบาลต้องมองให้ขาดและทำให้ขาดด้วย เพราะถ้าเราจะหวังพึ่งจากดิจิทัลวอลเล็ตอาจไม่ได้คุ้มทุนขนาดนั้น และยังต้องระวังเรื่องการขายลดคูปองอีก (นำคูปองไปขายลดราคาจากมูลค่าเพื่อแลกเป็นเงินสด) อันนี้ก็เป็นประเด็นที่พูดกันนานแล้ว แต่ผมว่ารัฐบาลก็ยังไม่มีคำตอบ
บัตรเติมเงิน บัตรเดบิต บัตรเครดิต ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของบุคคลภายนอก
การลงทุนที่ว่าคือการลงทุนประเภทไหน
เรื่องที่สองคือการปรับโครงสร้าง ที่แม้จะเห็นผลช้า แต่ต้องยิ่งทำให้เร็ว ผมว่าเราต้องปรับโครงสร้างหลายเรื่อง อย่างเรื่องที่ว่าเราไม่ได้ลงทุนและไม่มีอุตสาหกรรมเพราะต้องใช้เทคโนโลยีสูง คำถามคือเรามีเทคโนโลยีนั้นไหม ถ้าไม่มีเรานำเข้าได้ไหม ที่สำคัญกว่านั้นคือเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานควบคู่กับเทคโนโลยีใหม่นั้นได้หรือไม่